วันจันทร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2557

BUS7017 พิชัยสงครามซุนวู 13 บท


ซุนวู เป็นผู้เขียน ตำราพิชัยสงคราม ที่นับว่าเป็นตำรายุทธศาสตร์ทางทหาร ที่มีอิทธิพลมากของจีน และปัจจุบันยุทธศาสตร์ในตำราได้ถูกประยุกต์ ใช้อย่างกว้างขวางในวงการธุรกิจและการเมือง โดยมีคำกล่าวที่เรารู้จักกันดีคือ “รู้เข้ารู้เรารบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง”
ซุนวู เป็นชาวเล่ออาน ซึ่งอยู่ในแคว้นฉี ในสมัยปลายของยุคซุนชิว ซึ่งเป็นยุคเดี่ยวกับขงจื๊อ (ก่อนคริสตศักราช ประมาณ 551 – 497 ปี) (วงเล็บอีกที ยุคเดี่ยวกับพระพุทธเจ้า ยุคนี้มีนักปราชญ์เยอะจริงๆ) ต่อมาแคว้นฉีเกิดการกบฏจราจล ซุนวูจึงหลบหนี้เข้าไปอยู่ที่แคว้นอู๋ และได้เข้ารับราชการเป็นแม่ทัพของแคว้นอู๋ในเวลาต่อมา และได้เขียนตำราพิชัยสงครามขึ้นมาเล่มหนึ่งซึ่งมีอยู่ 13 บท และเป็นที่รู้จักกันดีจวบจนปัจจุบัน
ตำราพิชัยสงครามของซุนวูนี้ แบ่งได้ 13 บทดังนี้
  1. การประเมิน 
  2. การวางแผน
  3. ยุทธศาสตร์การรุก
  4. การตั้งรับ
  5. พลังแห่งความผันแปร
  6. ความแข็ง-อ่อน
  7. การดำเนินกลยุทธ์
  8. นวผกผัน
  9. ยาตราทัพ
  10. ภูมิประเทศ
  11. สถานการณ์เก้าลายคราม
  12. การใช้ไฟ
  13. จารชน


แหล่งอ้างอิงที่น่าสนใจ
ตำราพิชัยสงครามของซุนวู
The Art of War translated by Lionel Giles (1910) ที่ โครงการกูเทนแบร์ก
"ตำราพิชัยสงคราม SUNTZU 13 บทไม้ตาย" - ตำราพิชัยสงครามของซูนวู สำนวนแปลของ น.อ.จอม รุ่งสว่าง
ตำราพิชัยสงครามของซุนจู้และเง่าคี้ โดย Samuel B.Griffith, Oxford University Press, 1963. แปลโดย พิชัย วาสนาส่ง (สำนักพิมพ์ลายสือไทย, พระนคร, 2521)
ตำราพิชัยสงครามซุนวู แปลและเรียบเรียง : เสถียร วีรกุล พ.ศ. 2495
ซุนวูและตำราพิชัยสงครามซุนวู (เว็บไซต์ไทยสามก๊ก)

ตำราพิชัยสงคราม SUNTZU ของ กรมข่าวทหารอากาศ

4 ความคิดเห็น:

  1. บทที่ 6 เหมือนใส่ลิงค์ของบทที่ 7 ค่ะ

    ตอบลบ
  2. อยากขอดู บทที่ 6ได้มั้ยค่ะ

    ตอบลบ
  3. ไม่มีบทที่ 6 หรอค่ะ เหมือนบทที่ 6 ลงลิงค์ซ้ำกับบทรที 7 ค่ะ

    ตอบลบ
  4. ไม่มีบทที่ 6 หรอค่ะ เหมือนบทที่ 6 ลงลิงค์ซ้ำกับบทรที 7 ค่ะ

    ตอบลบ